คณะพลมารีคืออะไร?
1. คณะพลมารี (The
Legion of Mary)
คือคณะฆราวาสคาทอลิกแพร่ธรรม รับใช้พระเป็นเจ้าในเพื่อนมนุษย์ ภายใต้การนำของพระศาสนจักร
อันได้แก่ พระสังฆราชประจำท้องที่ และคุณพ่อเจ้าวัดของตน
2. กำเนิด คณะพลมารี
เริ่มเมื่อ 20.00 น. วันที่ 7 กันยายน 1921 (พ.ศ. 2464) ณ
บ้านไมรา ถนนฟรันซีส นครดับลินประเทศไอร์แลนด์ ถ้านับถึง วันที่ 7 ก.ย.
1991 นี้ ก็ครบรอบ 70 ปี ผู้ก่อตั้งคือ นายแฟร็งก์ ดั๊ฟ เกิดวันที่ 7
มิ.ย.1889 มรณะวันที่ 7 พ.ย. 1980 อายุ 91 ปีเศษ
3. เปรสิเดียมหรือ ป.
คือหน่วยแรกของคณะพลมารี ตั้งอยู่ตามวัด โรงเรียน สถาบันคาทอลิก เปรสิเดียมแบ่งเป็น
2 ระดับคือ
ก. ระดับอาวุโส สมาชิกอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข. ระดับเยาวชน สมาชิกอายุต่ำกว่า 18 ปี
4. สมาชิก
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือสมาชิกประจำการ และ สมาชิกสนับสนุน
ก. สมาชิกประจำการอาวุโส ทำงานที่รับมอบสัปดาห์ละ
2 ช.ม.
ข. สมาชิประจำการเยาวชน ทำงานที่รับมอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ
1 ช.ม.
ค. สมาชิกสนับสนุน สวดบทภาวนาของคณะพลมารี (ตามใบแตสเซรา)
พร้อมลูกประคำวันละ 1 สาย
5. เจ้าหน้าที่ ป.
มี 5 คน
จิตตาธิการ (เป็นพระสงฆ์-นักบวช)
ประธาน
รองประธาน
เลขานุการ
และเหรัญญิก
หมายเหตุ
1. เจ้าหน้าที่เปรสิเดียม (นอกจากจิตตาธิการ)
ดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
2. พลมารีชายนำหน้าชื่อว่า บราเดอร์(บ.) พลมารีหญิงว่า
ซิสเตอร์ (ซ.)
6. หน้าที่พื้นฐานของพลมารีแต่ละคน
คือ
1. เข้าประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์ตรงเวลา
และสม่ำเสมอ และรายงานกิจการที่ทำ พอเหมาะ และได้ยินชัด
2. สวดบทกาเตนาทุกวัน
3. กระทำงานอันมีสาระจริงจังของพลมารี จนกระทั่งถือว่า
บุคคลที่ไปติดต่อและเพื่อนสมาชิก เป็นดังพระคริสตเจ้า และตนเป็นดังพระนางมารีอา
มารับใช้พระองค์เสียใหม่
4. รักษาความลับอย่างเด็ดขาด ในเรื่องที่ทราบจากการประชุมหรือการติดต่อทำงานพลมารี
7. สภาพลมารี (Councils)
มีหน้าที่ปกครองคณะพลมารี ให้ดำเนินไปตามจิตตารมณ์และระเบียบ ที่ตราไว้ในหนังสือคู่มือทางการของคณะพลมารี
ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงสภาสูงสุดมีดังนี้
1. คูเรีย (Curia) ท้องที่ใด มีตั้งแต่ 2 ป.
หรือมากกว่า ก็ให้ตั้ง คูเรีย ขึ้นทำการปกครอง. สมาชิกสภาคูเรียประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่ทั้งหมด (รวมทั้งจิตตาธิการ) ของ ป. ต่างๆในเขตคูเรียนั้น
2. คอมิเซียม (Comitium) ท้องที่ใดมีตั้งแต่
2 คูเรียขึ้นไป และเห็นควรมอบให้คูเรียใดมีอำนาจปกครองคูเรียอื่นด้วย
คูเรียที่มีหน้าที่สูงขึ้นนี้ มีชื่อว่า คอมิเซียม เช่นปัจจุบันมีคอมิเซียมที่สังฆมณฑลท่าแร่
และที่อุบลราชธานี ปกติคูเรียและคอมิเซียมมีขอบเขตพื้นที่ไม่เกินสังฆมณฑลหนึ่ง
3. เรเยีย ( Regia ) เป็นสภาบริหารคณะพลมารีในอาณาบริเวณใหญ่กว่าคอมิเซียม
(เวลานี้ประเทศไทยยังไม่มีสภาเรเยีย)
4. เซนาตุส (Senatus ) เป็นสภาปกครองคณะพลมารี
ในระดับประเทศ บางประเทศมีกิจการพลมารีมากก็อาจมีหลายเซนาตุสได้ เช่นที่เกาหลี
สหรัฐอเมริกาและอินเดีย เป็นต้น
5. คอนซีเลียม ( Concilium Legionis) คือสภาศูนย์กลาง
หรือสภาสูงสุด ทำหน้าที่ปกครองคณะพลมารีทั่วโลก สภาศูนย์กลางตั้งอยู่ที่นครดับลิน
ประเทศไอร์แลนด์
|