คนบางแสน

 

ในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ก้าวที่ 56 : กลโกธาหรือเนินกัลวารีโอ


เนินกัลวารีโออยู่ชั้นบนของวัดพระคูหาศักดิ์สิทธิ์ ทางขวามือติดขอบประตทางเข้า ู เป็นบันไดขึ้นไปบนยอดเนินกัลวารีโอ


มองขึ้นไปเป็นซุ้มประตูหิน จารึกรูปกางเขนแบบเยรูซาเล็ม (เป็นรูปกากบาทใหญ่) และมีกากบาทเล็ก 4 อัน ใน 4 ช่องว่าง พร้อมกับตัวหนังสือเป็นภาษาลาติน (อ่านไม่เข้าใจว่าเป็นข้อความอะไร) บันไดหินชันมาก มี 19 ขั้น ผู้สูงอายุจะขึ้นลำบาก ความสูง 16 ฟุต ก็ประมาณ 5 เมตร


  ขึ้นมาแล้ว   ตรงนี้เป็นวัดเล็ก 2 วัด จะเรียกว่าเป็นวัดก็ไม่ชัดเจน เป็นห้องใหญ่ และมีพระแท่น มีเครื่องตกแต่งเป็นรูปภาพ เชิงเทียน ตะเกียง โคมไฟ เยอะแยะ เต็มไปหมด


วัดแรกเป็นของนิกายคาทอลิกนี่ เป็น สถานที่ 11 ที่เขาเอาพระเยซูเจ้าตอกตะปูตรึงกับไม้กางเขน


มีพระแท่น หลังพระแท่นเป็นภาพโมเสค พระเยซูเจ้ากำลังถูกตอกตะปูที่พระหัตถ์ซ้าย มีแม่พระยืนอยู่ เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มเพดาน ประดับโมเสค ตกแต่งสวยงามดี ตามสไตล์สมัยครูเสด


ติดกันเลยทางซ้ายมือ ไม่มีอะไรกั้น เป็นวัดที่สอง


เป็นของนิกายกรีกออร์ธอร์ด๊อกซ์ (เชื่อแล้วว่าอยู่ร่วมกันได้ เหมือนที่อื่นๆ เช่นเบ็ธเลเฮม) 


ตรงนี้คือ สถานที่ 12 พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน


ณ จุดที่ปักกางเขน มีพระแท่น ใต้พระแท่นมีแท่งหินอ่อน และมีแผ่นจานเงิน เป็นตำแหน่งจุดปักกางเขน


ผู้แสวงบุญจะเข้าไปคุกเข่า กราบ จูบ ลูบ คลำ สัมผ้ส และต้องการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก


ทางซ้ายและทางขวา มีช่องหน้าต่างให้มองเห็นหินภูเขา หินที่อยู่ข้างใต้ลงไป เป็นหินแท้ๆ ของเนินกลโกธา (มธ. 27 : 51) กระจกครอบแข็งแรง (กันกระสุน) ป้องกันผู้มีใจศรัทธา สกัดเอาหินไปบูชา (เกิดขึ้นแล้วในยุคแรกๆ)


หลังพระแท่น เป็นไม้กางเขนที่พระเยซูเจ้าถูกตรึงและสิ้นพระชนม์


พร้อมทั้งรูปแม่พระยืนอยู่ ภาพเหตุการณ์ ตามสไตล์ของออร์ธอร์ด๊อกซ์


ทางขวามือติดกัน ระหว่างแท่นของออร์ธอร์ด๊อกซ์ และแท่นของคาทอลิก เป็นภาพแม่พระมหาทุกข์ (Mater Dolorosa) มีดาบแทงพระหทัย ตรงนี้เป็น


สถานที่ 13  พระเยซูเจ้าถูกนำลงจากไม้กางเขน มอบให้พระมารดา

ภาพนี้ กลุ่มผู้แสวงบุญนำมาจากกรุงลิสบอน โปรตุเกส ปี ค.ศ. 1778 พร้อมมงกุฎทองคำล้ำค่า


จากวัดชั้นบน มีบันไดเวียนลงมาทางซ้ายมือ ก็จะเป็นจุดตรงกลางประตูทางเข้าวัดพระคูหาศักดิ์สิทธิ์ หลังจากยอแซฟชาวอริมาเทีย นำพระศพพระเยซูเจ้าลงจากกางเขน ก็นำพระเยซูเจ้ามาวางไว้บนแผ่นหินเรียบ เพื่อชะโลมพระศพด้วยเครื่องหอม แผ่นหินนี้จึงมีชื่อว่า แผ่นหินชะโลมพระศพ (Stone of Anointment)


ข้างบนมีตะเกียงโคมระย้าห้อย นับได้ 8 พวง


ผู้แสวงบุญก็จะคุกเข่าลงกราบ จูบ ลูบ สวดภาวนา และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก


ช่วงคนเยอะๆ หาจังหวะถ่ายรูปยากมาก


ด้านหลังเป็นภาพโมเสคขนาดใหญ่ 3 ภาพ บอกเหตุการณ์ช่วงนำพระศพลงจากกางเขน


ชโลมพระศพ มีแม่พระ ยอห์น และมารีอาทั้งสอง


นำพระศพขไปฝังในพระคูหา


Back to Mainpage